By admin

ทำความรู้จัก “โรคพิษสุนัขบ้า” กันให้มากขึ้น

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ การติดต่อของโรค ติดต่อผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ 99% ของการติดเชื้อของมนุษย์ เกิดจากการถูกสุนัขกัด หากเชื้อวิ่งเข้าสู่สมองจะทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตทันที การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ล้างแผลที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาดและน้ำสบู่ให้สะอาด รีบพบแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การเสียชีวิต โรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ในประเทศยากจนส่วนมากในทวีปเอเซียและแอฟริกา ทุก 15 นาที มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 40% ของเหยื่อที่เสียชีวิต เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เราสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร เพิ่มการตระหนักรู้ในสังคม เรียนรู้พฤติกรรมของสุนัขและแมว ไม่โดนกัด = ไม่ติดเชื้อ การฉีดวัคซีนสุนัขและแมวสามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้ โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ 100% การฉีดวัคซีนเพียง 70% ของสุนัข สามารถช่วยยับยั้งการระบาดของโรคในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เจ้าของสุนัขและแมวทุกคนควรให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงของท่าน  

Posted in new
By admin

ทำความรู้จักโรคฉี่หนู

    การวินิจฉัยโรคฉี่หนู แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคฉี่หนูได้จากอาการที่แสดงของผู้ป่วย จากการตรวจร่างกาย รวมทั้งประวัติอาชีพการทำงาน สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การสัมผัสกับแหล่งน้ำต่าง ๆ และอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยเสริม ได้แก่ การตรวจเลือด ได้แก่ การตรวจซีบีซี (CBC) ซึ่งจะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ บางรายอาจสูงถึง 50,000 ตัว/ลบ.มม. เกล็ดเลือดต่ำลง, การตรวจดูค่าการทำงานของตับ (พบขึ้นสูงเล็กน้อย), การตรวจค่าการตกตะกอนของเลือด (Erythrocyte sedimentation rate – ESR) ซึ่งจะพบค่าขึ้นสูง, การตรวจค่าน้ำดี (พบค่าขึ้นสูง), การตรวจค่าน้ำย่อยในตับอ่อน (อาจขึ้นสูง ถ้ามีตับอักเสบร่วมด้วย), ในรายที่เป็นรุนแรง ค่าการแข็งตัวของเลือดและค่าการทำงานของไตจะผิดปกติ โดยจะมีค่าสารของเสียในเลือดสูงขึ้น การตรวจปัสสาวะ (พบสารไข่ขาว เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว ซึ่งปกติจะไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในปัสสาวะ) การตรวจน้ำไขสันหลัง (ในรายที่ปวดศีรษะรุนแรงหรือสงสัยว่าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังสูงขึ้น และอาจพบสารไข่ขาวสูงขึ้นด้วย) การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะกับโรคฉี่หนู คือ การเพาะเชื้อจากเลือด น้ำไขสันหลัง หรือจากปัสสาวะ และการตรวจหาสารภูมิต้านทานต่อเชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) จากการทดสอบทางน้ำเหลือง (มีอยู่หลายวิธี […]

Posted in new
By admin

วิธีป้องกันโรคฉี่หนู

                        วิธีป้องกันโรคฉี่หนู ควบคุมและกำจัดหนูในบริเวณที่พักอาศัยของคน โดยเฉพาะในบริเวณบ้านพักอาศัย ร้านอาหาร ตลาด สถานที่ทำงาน แหล่งพักผ่อน สถานที่ท่องเที่ยว และในนาข้าว เนื่องจากหนูเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ ติดตามข่าวสารของทางการอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าพื้นที่ใดมีการระบาดของโรคฉี่หนูอยู่บ้าง ถ้าพบว่ามีการระบาดในพื้นที่ของตน ก็ควรเพิ่มการระมัดระวังเป็นพิเศษ พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ รักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือนอยู่เสมอ อย่าให้มีขยะและเศษอาหารตกค้าง อันจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของหนู ส่วนวิธีการอื่น ๆ ที่เราสามารถทำได้คือ ไม่ถ่ายอุจจาระหรือทิ้งขยะลงน้ำ (ควรรวบรวมใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่น), หาภาชนะหรือถุงขยะที่มีฝาปิดมาใช้เพื่อรวบรวมถุงขยะ (แต่ถ้าหาไม่ได้ ให้วางถุงขยะให้ห่างจากสุนัขหรือสัตว์อื่นที่อาจมาคุ้ยถุงขยะให้แตกและให้สูงกว่าบริเวณที่น้ำท่วมถึง), การติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เป็นต้น หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อไปจับต้องเนื้อสัตว์ ซากสัตว์ และสัตว์ทุกชนิด ควรดื่มน้ำสะอาด น้ำต้มสุก และรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ด้วยความร้อนทันที และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันเชื้อโรค ควรล้างผักผลไม้ด้วยน้ำที่สะอาด ภาชนะที่นำมาใช้ใส่อาหารควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ไม่รับประทานผักดิบ […]

Posted in new
By admin

เรื่องที่ 4 โรคที่มาพร้อมกับหนู

หนูบ้าน ดูเหมือนจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนจะไม่น่ารักของเกือบทุกครัวเรือน เพราะนอกจาก หนู จะก่อความเดือดร้อนรำคาญ เที่ยวกัดแทะสิ่งของภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระทั่งลักขโมยอาหารไปกินแล้ว หนู ยังเป็น พาหะของโรคต่าง ๆ อีกมากมายหลายโรคด้วยด้วย   กาฬโรค ถือเป็นโรคอันดับต้น ๆ ที่เรามักจะนึกถึงเมื่อนึกถึงโรคที่เกิดจากหนูค่ะ  เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเก่าแก่ที่มีมายาวนาน ในประวัติศาสตร์มีประวัติการแพร่ระบาดของกาฬโรคหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็คร่าชีวิตผู้คนนับแสนนับล้าน กาฬโรคนั้นเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดในหนู และในสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ที่น่ากลัวก็คือ มันสามารถติดต่อมาถึงคนได้ โรคนี้มีหมัดหนูที่อาศัยบนตัวหนูเป็นพาหะ แต่ตัวการที่ทำให้เกิดโรคนี้จริง ๆ ก็คือแบคทีเรียที่ชื่อ Yersinia pestis กาฬโรคติดต่อมายังคนได้หลายช่องทางค่ะ เช่น ถูกหมัดหนูกัด สัมผัสสัตว์ที่ป่วยหรือตายด้วยโรคนี้ สัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยโรคนี้ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการโลหิตเป็นพิษ มีไข้ มีอาการทางประสาท ต่อมน้ำเหลืองบวม และอาจมีอาการอักเสบแบบมีเลือดออก และมีเนื้อตายร่วมกับการขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่ถูกหมัดหนูกัด หากไม่ได้รักษาก็อาจเสียชีวิตได้ โรคเลปโทสไปโรซิส บางคนเรียก โรคเลปโทสไปโรซิส นี้ว่า “โรคฉี่หนู” เพราะเข้าใจว่าสัตว์ที่นำโรคนี้มาคือหนูเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ โรคนี้เป็นโรคที่แพร่ระบาดในฤดูฝน […]

Posted in new
By admin

แนวคิดผลิตภัณฑ์ภายใต้ ลีโอแบรนด์

จากแนวคิดไล่แต่ไม่ฆ่า  สินค้าภายใต้แบรนด์ลีโอทุกชนิด ผลิตจากสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ ภายใต้แนวคิดในการใช้กลิ่นในการไล่แต่ไม่ฆ่า ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดผ่านการวิเคราะห์วิจัยและทดสอบจนพบกลิ่นจำเพาะที่สัตว์ชนิดนั้นๆไม่ชอบ ไม่อยากเข้าใกล้ จนสัตว์เหล่านั้นต้องขยับขยายถิ่นฐานไปหาแหล่งที่อยู่อื่น ข้อดีของการไม่ฆ่า คือการไม่ต้องคอยตามเก็บซาก ทั้งส่งกลิ่นเหม็น ทั้งเป็นแหล่งเชื้อโรค จนบางครั้งต้องคอยตามกําจัดมดที่ขึ้นตามซากอีก เราเชื่อว่าการไม่เบียดเบียนกันเป็นสิ่งดีที่สุด แค่ใช้กลิ่นเป็นสัญลักษณ์บอกสัตว์เหล่านั้นให้ไม่เข้ามาใกล้ก็พอ การป้องกันดีกว่าการตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เราจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้เป็นประจำทุกวัน ใช้งานง่ายและไล่ได้จริง ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดผ่านการวิเคราะห์วิจัยและทดสอบจนพบกลิ่นจําเพาะที่ สัตว์ชนิดนั้นๆไม่ชอบ ไม่อยากเข้าใกล้ จนสัตว์เหล่านั้นต้องขยับขยายถิ่นฐานไปหาแหล่งที่อยู่อื่น   ประเภทผลิตภัณฑ์มี 4ประเภท ดังต่อไปนี้ ลีโอแรท สูตรเข้มข้น ชนิดสเปรย์ บรรจุ 320ซีซี ใช้ไล่และป้องกันหนูไม่ให้มาอาศัยในบริเวณและกันความเสียหายที่เกิดจากการกัดแทะของหนู สามารถใช้ได้กับพื้นที่กว้าง ลีโอแรท ชนิดกล่อง บรรจุ 2 แพ็ค ใช้ไล่และป้องกันหนูไม่ให้มาอาศัยในบริเวณและกันความเสียหายที่เกิดจากการกัดแทะของหนู เน้นกับการใช้ในพื้นที่ปิดขนาดเล็ก ลีโอฟลาย ชนิดสเปรย์ ขนาด 220ซีซี ใช้ไล่และป้องกันแมลงวัน ยุง มดแดง มดน้ำ แมลงมีปีก ฉีดพ่นในบริเวณที่เกิดปัญหาหรือวามารถฉีดพ่นบนตัวของสัตว์เลี้ยงได้โดยไม่เป็นอันตราย ลีโอด็อก ชนิดสเปรย์ ขนาด 220ซีซี ใช้ไล่และป้องกันสุนัขและแมวไม่ให้มาขับถ่ายในบริเวณ เหมาะในการใช้กับสุนัขหรือแมวที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงของตนเอง สถานที่จำหน่าย […]

Posted in new