By admin

ทำความรู้จัก “โรคพิษสุนัขบ้า” กันให้มากขึ้น

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ การติดต่อของโรค ติดต่อผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ 99% ของการติดเชื้อของมนุษย์ เกิดจากการถูกสุนัขกัด หากเชื้อวิ่งเข้าสู่สมองจะทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตทันที การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ล้างแผลที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาดและน้ำสบู่ให้สะอาด รีบพบแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การเสียชีวิต โรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ในประเทศยากจนส่วนมากในทวีปเอเซียและแอฟริกา ทุก 15 นาที มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 40% ของเหยื่อที่เสียชีวิต เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เราสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร เพิ่มการตระหนักรู้ในสังคม เรียนรู้พฤติกรรมของสุนัขและแมว ไม่โดนกัด = ไม่ติดเชื้อ การฉีดวัคซีนสุนัขและแมวสามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้ โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ 100% การฉีดวัคซีนเพียง 70% ของสุนัข สามารถช่วยยับยั้งการระบาดของโรคในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เจ้าของสุนัขและแมวทุกคนควรให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงของท่าน  

Posted in new
By admin

ทำความรู้จักโรคฉี่หนู

    การวินิจฉัยโรคฉี่หนู แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคฉี่หนูได้จากอาการที่แสดงของผู้ป่วย จากการตรวจร่างกาย รวมทั้งประวัติอาชีพการทำงาน สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การสัมผัสกับแหล่งน้ำต่าง ๆ และอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยเสริม ได้แก่ การตรวจเลือด ได้แก่ การตรวจซีบีซี (CBC) ซึ่งจะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ บางรายอาจสูงถึง 50,000 ตัว/ลบ.มม. เกล็ดเลือดต่ำลง, การตรวจดูค่าการทำงานของตับ (พบขึ้นสูงเล็กน้อย), การตรวจค่าการตกตะกอนของเลือด (Erythrocyte sedimentation rate – ESR) ซึ่งจะพบค่าขึ้นสูง, การตรวจค่าน้ำดี (พบค่าขึ้นสูง), การตรวจค่าน้ำย่อยในตับอ่อน (อาจขึ้นสูง ถ้ามีตับอักเสบร่วมด้วย), ในรายที่เป็นรุนแรง ค่าการแข็งตัวของเลือดและค่าการทำงานของไตจะผิดปกติ โดยจะมีค่าสารของเสียในเลือดสูงขึ้น การตรวจปัสสาวะ (พบสารไข่ขาว เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว ซึ่งปกติจะไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในปัสสาวะ) การตรวจน้ำไขสันหลัง (ในรายที่ปวดศีรษะรุนแรงหรือสงสัยว่าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังสูงขึ้น และอาจพบสารไข่ขาวสูงขึ้นด้วย) การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะกับโรคฉี่หนู คือ การเพาะเชื้อจากเลือด น้ำไขสันหลัง หรือจากปัสสาวะ และการตรวจหาสารภูมิต้านทานต่อเชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) จากการทดสอบทางน้ำเหลือง (มีอยู่หลายวิธี […]

Posted in new
By admin

วิธีป้องกันโรคฉี่หนู

                        วิธีป้องกันโรคฉี่หนู ควบคุมและกำจัดหนูในบริเวณที่พักอาศัยของคน โดยเฉพาะในบริเวณบ้านพักอาศัย ร้านอาหาร ตลาด สถานที่ทำงาน แหล่งพักผ่อน สถานที่ท่องเที่ยว และในนาข้าว เนื่องจากหนูเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ ติดตามข่าวสารของทางการอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าพื้นที่ใดมีการระบาดของโรคฉี่หนูอยู่บ้าง ถ้าพบว่ามีการระบาดในพื้นที่ของตน ก็ควรเพิ่มการระมัดระวังเป็นพิเศษ พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ รักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือนอยู่เสมอ อย่าให้มีขยะและเศษอาหารตกค้าง อันจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของหนู ส่วนวิธีการอื่น ๆ ที่เราสามารถทำได้คือ ไม่ถ่ายอุจจาระหรือทิ้งขยะลงน้ำ (ควรรวบรวมใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่น), หาภาชนะหรือถุงขยะที่มีฝาปิดมาใช้เพื่อรวบรวมถุงขยะ (แต่ถ้าหาไม่ได้ ให้วางถุงขยะให้ห่างจากสุนัขหรือสัตว์อื่นที่อาจมาคุ้ยถุงขยะให้แตกและให้สูงกว่าบริเวณที่น้ำท่วมถึง), การติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เป็นต้น หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อไปจับต้องเนื้อสัตว์ ซากสัตว์ และสัตว์ทุกชนิด ควรดื่มน้ำสะอาด น้ำต้มสุก และรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ด้วยความร้อนทันที และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันเชื้อโรค ควรล้างผักผลไม้ด้วยน้ำที่สะอาด ภาชนะที่นำมาใช้ใส่อาหารควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ไม่รับประทานผักดิบ […]

Posted in new